Blog


ปรระโยชน์ของการแสดงบทบาทสมมติในเด็กช่วงชั้นอนุบาล - Ms. Nikol Hellebrandova
November 13, 2018, 11:27 am

โรงเรียนนานาชาติชลบุรี(พัทยา) เป็นโรงเรียนนานาชาติที่ได้รับแรงบันดาลใจจาก Reggio Emilia คณะครูของเรา มีความเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าเด็กในช่วงวัยนี้ จะเรียนรู้สิ่งต่างๆจากการเล่นและประสบการณ์ส่วนตัว บทบาทของเราเป็นทั้งในฐานะครูและนักการศึกษา ดังนั้นการเตรียมสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเรียนรู้และพัฒนากิจกรรมเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนของเราได้ใช้เวลาและทำความเข้าใจผ่านทางการเรียนรู้ด้วยตนเอง เรา จึงทำหน้าที่คอยอำนวยความสะดวกให้การเรียนรู้ต่างๆเกิดขึ้นผ่านทางการวางแผนกิจกรรมและสร้างสรรค์บทเรียน โดยมุ่งเน้นให้ขึ้นอยู่กับความสนใจของเด็กๆ เนื่องจากเมื่อบทเรียนมีความน่าสนใจ จะนำไปสู่การปฏิสัมพันธ์ถามตอบเพื่อความเข้าใจและผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆร่วมกักันมากขึ้น ดังนั้นคณะครูของเราจึงเป็นมากกว่าการเป็นครูผู้สอนหรือบทบาทการเป็นครูในแบบดั้งเดิม อีกทั้งคณะครูของเราเมื่อได้ร่วมสังเกตการณ์ในระหว่างที่ผู้เรียนทำกิจกรรมต่างๆรวมไปถึงการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนโดยตรงช่วยให้คุณครูแต่ละท่านสามารถ รู้จักนักเรียนของเรา ได้ดีขึ้น ดังนั้นเราจึงสามารถนำข้อมูลจากการสังเกตสิ่งต่างๆเหล่านี้มาปรับใช้ให้เข้ากับแผนการเรียนการสอนของเพื่อให้สอดคล้องและเข้ากับความต้องการของผู้เรียน ซึ่งสามารถนำไปช่วยกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาทางด้านความรู้ความเข้าใจทางด้านอารมณ์สังคมและวัฒนธรรมอีกด้วย ซึ่งแม้ว่าเราจะพิจารณาตามความต้องการส่วนบุคคลของเด็กๆ แต่เรายังไม่ลืมที่จะให้ความสำคัญกับการพัฒนาทางด้านปฏิสัมพันธ์และทางด้านสังคม เราส่งเสริมให้ผู้เรียนทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มเนื่องจากต้องให้พวกเขาได้เรียนรู้ในเรื่องการทำงานร่วมกันกับคนอื่น รวมไปถึงการมีจิตใจเปิดกว้างในการยอมรับและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น โดยที่ไม่ได้ยึดติดกับความต้องการของตนเองเป็นสำคัญ

จากประสบการณ์ในมุมมองของคุณครูผู้สอน ทำให้เราพบว่าผู้เรียนแต่ละคนมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างและมีความต้องการที่แตกต่างกัน ดังนั้นแนวทางเพื่อการพัฒนาส่วนบุคคลของของแต่ละคนจึงมีความแตกต่างกันไปด้วย แต่อย่างไรก็ตามเด็กในช่วงวัยนี้แต่ละคนก็ต้องผ่านขั้นตอนเพื่อพัฒนาการด้านความรู้ความเข้าใจตามจังหวะและโอกาสที่เหมาะสมของตนเอง (ตามที่ Piaget - ผู้ที่คิดค้นทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาได้อธิบายไว้)  ในทางกลับกันเราในฐานะความเป็นครูที่ได้ดูแลและสังเกตอย่างใกล้ชิด ก็สามารถเข้าใจได้ดีว่าหากเราสามารถขับเคลื่อนการเรียนการสอนบทเรียนต่างๆ ภายใต้ความอยากรู้อยากเห็นและความสนใจที่จะเรียนรู้เพิ่มเติมของผู้เรียน จะทำให้ผู้เรียนมีศักยภาพในการเรียนรู้มากขึ้น  อีกทั้งเราทำงานกับผู้เรียนที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก เราดูแล ผู้เรียนที่มีความหลากหลายทั้งทางเชื้อชาติและภาษา ดังนั้นเราจึงเข้าใจได้เป็นอย่างดีว่าคำพูดนั้นไม่ใช่การสื่อสารเพียงอย่างเดียว ดังนั้นเราจึงพยายามวางแผนการสอนและการสื่อสารในชั้นเรียนให้เป็นไปตามปรัชญา "ร้อยภาษาของเด็ก" ที่ Loris Malaguzzi ได้คิดค้นทฤษฎีนี้เอาไว้ รวมไปถึงการกระตุ้นให้ผู้เรียนได้แสดงออกผ่านกระบวนการต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้แสดงความรู้ความเข้าใจที่พวกเขาได้รับและสามารถร่วมแบ่งปันความคิดและความรู้สึกกับบุคคลอื่นได้ด้วย อีกทั้งในเรื่องของการเรียนรู้เกี่ยวกับด้านศิลปะ การดนตรี กิจกรรมประกอบจังหวะและการเล่นละคร แสดงบทบาทสมมติก็เป็นส่วนหนึ่งของแผนการเรียนการสอนประจำวันของเราด้วย

ห้องเรียน ISC Early Years (ระดับชั้นอนุบาล) จึงออกแบบเพื่อให้สามารถส่งเสริมการเรียนการสอนและบรรยากาศการเรียนรู้ อีกทั้งยังมีคณะครูที่มีพรสวรรค์และคุณครูผู้ช่วยที่คอยกระตุ้นและสนับการเรียนรู้ของผู้เรียน นอกจากนี้เราใช้สื่อการเรียนการสอนอันหลากหลายเพื่อเสริมสร้างแรงบันดาลใจและช่วยดึงดูดความสนใจให้กับบทเรียน เราเชื่ออยุ่เสมอว่าผู้เรียนของเราจะได้เรียนรู้ผ่านการเรียนการสอนที่ดีที่สุดและสามารถปฎิบัติจริงผ่านทางกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยแนวคิดใหม่ๆ

จากปรัชญาการเรียนการสอนของเรา สิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้จึงมีบทบาทค่อนข้างสำคัญ ดังนั้นหัวข้อการแสดงบทบามสมมติในชั้นเรียนจึงมีการเปลี่ยนแปลงอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งขึ้นอยู่กับการเรียนรู้เกี่ยวกับหัวข้อต่างๆของผู้เรียนในช่วงนั้นๆ เช่น อาคารสำนักงานธุรกิจ สัตวแพทย์ ร้านอาหาร แหล่งที่อยู่อาศัยของไดโนเสาร์ยุคก่อนประวัติศาสตร์พร้อมกับอาศัยบทเรียนเชิงวิทยาศาสตร์ในกาจำลองภูเขาไฟที่ระเบิด ร้านขาย ร้านขายของชำหรือสนามบิน ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการศึกษาหลายคนให้การยอมรับว่าเด็กเล็กในช่วงวัยนี้จะสามารถเรียนรู้ได้ดีที่สุดผ่านทางการเล่นและการสัมผัสจริง ดังนั้นการเล่นผ่านบทละครหรือการแสดงบทบาทสมมติจึงเป็นอีกก้าวที่ยิ่งใหญ่สำหรับการเรียนรู้ของพวกเขา ซึ่งกลวิธีในการวางแผนการเรียนการสอนรูปแบบนี้จะช่วยส่งเสริมและพัฒนาเพื่อให้ผู้เรียนสามารถควบคุมอารมณ์และการกระทำของตนเอง การอาศัยการแสดงออกผ่านบทบาทสมมติจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการแสดงออกทางภาษาได้อีกด้วย ทั้งนี้ยังส่งผลให้ผู้เรียนมีแรงบันดาลใจในการพยายามที่จะสื่อสารความปรารถนาและความต้องการของพวกเขา เพื่อให้คนใกล้ตัวไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ คุณครูรวมไปถึงเพื่อนของพวกเขาสามารถเข้าใจการแสดงออกของพวกเขาด้วย เห็นได้ชัดจากนักเรียนที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก จะสามารถเรียนรู้โครงสร้างและคำศัพท์ของภาษาใหม่ ในสถานการณ์ธรรมชาติได้ดีมากกว่า ทั้งนี้การเล่นละครหรือแสดงบทบาทสมมติยังช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง สามารถจัดการควบคุมความรู้สึกและอารมณ์ของตน รวมไปถึงใช้ความรู้ที่ได้เรียนมา ในระหว่างการเล่นละคร ได้ด้วย เช่น ทางด้านคณิตศาตร์ ในระหว่างการแสดงบทบาทสมมติ เกิดการเรียนรู้ผ่านทางคำถาม "แอปเปิ้ลสาม ส้มสองและกล้วยห้ารวมเป็นจำนวนเท่าไร?" หรือในช่วงการเรียนรู้หัวข้อการคมนาคมในส่วนของสามบิน มีการจำลองสถานกาณ์สมมติผ่านคำถาม "คุณมีเวลาห้านาทีก่อนที่เครื่องบินคุณต้องออกเดินทาง" หรือทักษะการแก้ปัญหาและตัดสินใจผ่านตัวอย่างสมมติ "ลูกของคุณมีไข้ต้องพาไปโรงพยาบาลให้คุณมารักษา และต้องทานยาให้ถูกต้องจึงจะหายดี" เป็นต้น

ดังนั้นการแสดงบทบาทสมมติจึงเป็นอีกแนวทางการเรียนรู้ที่เหมาะสำหรับผู้เรียนในช่วงวัยนี้ เนื่องจากพวกเขาจะได้ใช้ทักษะในการโต้ตอบ พร้อมกับสามารถประยุกต์เอาหัวข้อการเรียนรู้ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน หรือแม้กระทั่งในเรื่องของด้านภาษา รากฐานแห่งความสำเร็จในโรงเรียนประถมศึกษาและอื่น ๆ สร้างขึ้นใน แผนก Early Years (ระดับชั้นอนุบาล) ที่โรงเรียนนานาชาติชลบุรี ISC แห่งนี้