Blog


การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคม - Mr. Dan Maduka
November 13, 2018, 12:45 pm

ISC มีสิ่งหนึ่งที่สร้างความประทับใจให้กับผมและผู้ปกครองอีกหลายท่านนั่นก็คือ ในแต่ละวันนักเรียนของเราจะได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็นจากทางคณะครู บุคลากรคุณภาพหรือแม้กระทั่งจากเพื่อนในชั้นเรียนหรือต่างชั้นเรียนก็ตาม หากได้ลองสังเกตไม่ว่าจะเป็นในช่วงการเริ่มต้นปีการศึกษาใหม่หรือแม้กระทั่งในระหว่างภาคเรียนที่มีนักเรียนใหม่ย้ายเข้าเรียนที่โรงเรียนของเราก็ตาม เป็นสิ่งหนึ่งที่ผมประทับใจยิ่งที่ได้เห็นนักเรียนแต่ละคนของเราพยายามทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่ ด้วยความมีน้ำใจและมิตรไมตรี ไม่ว่าจะเป็นเรืองของการเรียน การพาเดินชมสถานที่โดยรอบ การชวนเพื่อนใหม่เล่นด้วยกันในช่วงพักระหว่างวัน ซึ่งการที่พวกเขาเริ่มต้นปฏิสัมพันธ์ทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่นั้น พวกเขาต่างตัดสินใจทำด้วยตนเองโดยไม่ต้องรอให้คุณครูบอกหรือว่าต้องสั่งให้ทำ

ผมคิดว่าเมื่อเราเทียบอัตราส่วนของจำนวน คุณครูผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษา กับจำนวนนักเรียนภายในโรงเรียนจะเห็นได้ว่า สิ่งเหล่านี้ช่วยให้ผมและคนอื่นๆในฐานะครูสามารถใส่ใจกับความต้องการทางสังคมและอารมณ์ที่มีความเป็นเอกลักษณ์และมีลักษณะเฉพาะเจาะจงของนักเรียนแต่ละคนได้เป็นอย่างดี เช่นเดียวกับแนวการเรียนการสอนด้านวิชาการที่เราได้มุ่งเน้นและหากลวิธีที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนแต่ละคนที่มีแนวทางแตกต่างกัน ด้วยขนาดชั้นเรียนที่มีผู้เรียนจำนวนไม่มาก จึงช่วยให้ผู้เรียนได้รับความรู้และพัฒนาทักษะทางด้านวิชาการพร้อมกันกับทักษะทางสังคมและอารมณ์ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งปฏิสัมพันธ์ระหว่างคุณครูและผู้เรียนก็ทำให้สามารถให้คำปรึกษาแบบส่วนตัวและสามารถช่วยผลักดันให้ผู้เรียนกล้าแสดงออกผ่านทางการแลกเปลี่ยนทางความคิดในห้องเรียนกับเพื่อนร่วมชั้นและคุณครูได้มากขึ้น นับได้ว่านี่เป็นโอกาสพิเศษในการลดช่องวางสำหรับความสัมพันธ์ระหว่างคุณครูกับนักเรียนแต่ละคนได้เป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้เราจึงสามารถสร้างสรรค์บรรยากาศการเรียนรู้ภายในชั้นเรียนให้ผู้เรียนมีความสุขและสนุกสนานไปกับบทเรียนได้ง่ายขึ้น ซึ่งสามารถสะท้อนให้เห็นถึง ปณิธานหลักของโรงเรียน ที่กล่าวว่า 'Every Child Matters - นักเรียนของเรามีความสำคัญทุกคน'

สภาพแวดล้อมก็นับว่าเป็นอกีหนึ่งสิ่งสำคัญสำหรับการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคม ซึ่งการพัฒนาการเรียนรู้ในส่วนดังกล่าวนี้จะมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาพฤติกรรมและลักษณะนิสัยในวัยเยาว์เป็นอย่างมาก ตัวอย่างเช่น ในชั้นเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย (KEY STAGE 2) การเรียนรู้ของพวกเขาจะอาศัยการเชื่อมโยงและบูรณาการการเรียนรู้ในสาขาวิชาต่างๆ เริ่มพัฒนาองค์ความรู้ความเข้าใจที่สูงขึ้น เช่น การคิดเชิงวิพากษ์ การทำงานร่วมกัน การวิเคราะห์ด้วยหลักเหตุและผลและการแก้ไขปัญหาร่วมกัน การเรียนรู้จะเป็นไปในรูปแบบของนักเรียนเป็นสำคัญ พวกเขาจะต้องทำการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองภายใต้คำแนะนำที่เป็นโยชน์จากทางคุณครู  ทำให้นักเรียนจะมีบทบาทอย่างยิ่งในระหว่างการทำกิจกรรมภายในชั้นเรียน ทักษะต่างๆในด้านอารมณ์และสังคม การยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น การกล้าแสดงออกทางความคิด การประเมินความสามารถของตนเอง สิ่งเหล่านี้จะพวกเขาจะได้รับการฝึกฝนและส่งเสริมพัฒนาผ่านการอภิปรายร่มกันภายในชั้นเรียน  ซึ่งในระหว่างกระบวนการเหล่านี้พวกเขายังสามารถพัฒนาทักษะความรับผิดชอบ การแบ่งเวลาหน้าที่และการทำงานร่วมกันกับผู้อื่นได้ไปพร้อมกันด้วย เช่น การเรียนรู้แก้ไขปัญหาเชาว์ การนำเสนอผลงานของตนเองให้กับเพื่อนร่วมกลุ่มของหรือเพื่อนในชั้นเรียน เป็นต้น

นอกจากนี้ในช่วง ประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 ยังมุ่งเน้นให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น เช่น การทำวิจัยรายบุคคล ซึ่งกระบวนการขั้นตอนต่างๆตั้งแต่การเลือกหัวข้อ การกำหนดจัดสรรเวลาสำหรับการประชุมและการนำเสนอผลงานของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรับผิดชอบในการเก็บรักษาผลงานการวิจัยของตนเอง สิ่งเหล่านี้ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนมีระเบียบวินัยและมีทักษะในการจัดการเวลารวมไปถึงสนับสนุนให้พวกเขารู้จักความรับผิดชอบมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการวางพื้นฐานอันประโยชน์และเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับนักเรียนเมื่อพวกเขาได้เข้าไปศึกษาระดับมัธยมศึกษาในอนาคต

การศึกษาที่ดีจึงควรมีแผนการเรียนการสอนที่สามารถพัฒนาตัวผู้เรียนให้มีความรอบรู้ ผู้เรียนได้รับการพัฒนาทางอารมณ์และสังคม และในขณะเดียวกันผู้เรียนก็ยังสามารถได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐานตามช่วงวัยอันพึงมีอย่างครบถ้วนอีกด้วย ที่ ISC เราจึงสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่มีความเหมาะสมทั้งในและนอกชั้นเรียน รวมไปถึงการให้ความดูแลและสังเกตการพัฒนาทักษะต่างๆ อย่างใกล้ชิดทำให้ ผู้เรียนได้รับการสนับสนุนการเรียนรู้ ทั้งในด้านวิชาการรวมทั้งพัฒนาการทางอารมณ์และสังคมอย่างเต็มที่ ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้จะช่วยให้นักเรียนของเรามีความเชื่อมั่นในตนเองทั้งในด้านของคลังความรู้และการเข้าสังคม พร้อมที่จะก้าวต่อไปในอนาคตได้อย่างมั่นคง