Blog


รู้อ่านรู้เขียนและรู้ใจไปกับการแสดงบทบาทสมมติในห้องเรียน - Ms. Jaki Jalin
September 12, 2019, 9:40 am

อาจเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าการเรียนรู้นั้นจะมีประสิทธิภาพมากที่สุดเมื่อมันเกิดขึ้นในบรรยากาศการเรียนรู้ที่มีความสนุกสนานมากที่สุด! และหากเราเปรียบเทียบเด็กๆ เป็นฟองน้ำ จะเห็นได้ว่าระบวนการคิดของพวกเขาน่าทึ่งมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งความสามารถในการจดจำข้อมูลของพวกเขา ที่เหมือนฟองน้ำที่ดูดซึมทุกสิ่งทุกย่างรอบตัว และไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่ดีหรือว่าเป็นข้อมูลที่แย่ ซึ่งในครั้งที่เราคิดเอาว่าอาจดูเหมือนรายละเอียดที่เล็กที่สุดและไม่สำคัญที่สุด แต่พวกเขากลับจดจำรายละเอียดเล็กๆเหล่านั้นได้ไปตลอดชีวิต สำหรับการเรียนรู้ที่โรงเรียนนานาชาติ ISC ท่านสามารถมั่นใจได้ว่า เด็กๆ จะไม่ทำกิจกรรมการเรียนรู้เพียงแค่นั่งบนพรมหรือนั่งชมดูวิดีโอเพียงอย่างเดียวแน่นอน เพราะเราเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าการเรียนรู้ที่ดีที่สุดเกิดขึ้นเมื่อนักเรียนได้ทดลองลงมือเรียนรู้ปฏิบัติจริง

สำหรับนักเรียนชั้น Y2 เรามุ่งเน้นการพัฒนาความเอาใจใส่เพื่อเสริมสร้างการเขียนเชิงสร้างสรรค์และเพื่อส่งเสริมความท้าทายในการพัฒนาทักษะของพวกเขา เราสามารถสังเกตได้ว่าเมื่อเด็กส่วนใหญ่ในช่วงวัย 6 ปี จะเริ่มแสดงความรู้สึกและพูดคุยเกี่ยวกับความรู้สึกของตนเองและรับรู้ถึงความรู้สึกของผู้อื่นในลักษณะที่เป็นธรรมชาติ ในขณะที่พวกเขาสามารถเข้าใจและรับรู้ได้ว่าพวกเขารู้สึกอย่างไรและทำไม แต่พวกเขายังคงต้องพยายามค้นหาวิธีเพื่อสื่อสารทุกความรู้สึกที่มีออกมาให้ได้เช่นกัน  และเมื่อเราทราบว่าเด็กในช่วงวัยนี้ยังคงต้องฝึกฝนพัฒนาทักษะความเข้าใจในความรู้สึกของตนเอง คำถามคือว่าแล้วเราจะสามารถสนับสนุนให้พวกเขาเขียนบอกเล่าบรรยายความรู้สึกของผู้อื่นได้อย่างไร คำตอบที่ตัวดิฉันเองเห็นว่ามีประสิทธิภาพที่สุดคือการส่งเสริมให้มีกิจกรรมแสดงบทบาทสมมติ ซึ่งด้วยวิธีนี้นอกจากจะช่วยลดแรงกดดันจากการที่พวกเขาต้องใช้วิธีคิดแบบเดาสุ่มก็จะทำให้ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ในการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นได้ดีมากยิ่งขึ้น และแน่นอนว่าการแสดงบทบาทสมมตินั้นช่วยสนับสนุนให้เด็กๆเต็มไปด้วยความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมดังกล่าวนี้เป็นอย่างยิ่ง

ดังเช่นตัวอย่างในระหว่างภาคเรียนสุดท้ายของนักเรียนระดับชั้น Y2 พวกเขาได้รับหัวข้อการเขียนเรื่อง 'เจ้าชายแห่งอียิปต์' เราใช้เวลากว่าสองสัปดาห์ในการตั้งคำถามเกี่ยวกับตัวละครและทดลองให้นักเรียนสวมบทบาทเป็นตัวละครดังกล่าว ซึ่งฉากการแสดงบทบาทสมมติก็มาจากเหตุการณ์สำคัญในเนื้อเรื่อง ทั้งนี้ก็เพื่อสะท้อนให้นักเรียนทุกคนในชั้นเรียนสามารถพูดคุยเกี่ยวกับความรู้สึกและแรงจูงใจของตัวละครในเนื้อเรื่องดังกล่าวได้ดีมากยิ่งขึ้น “แล้วเธอจะทำอย่างไรต่อไปดีละ” สิ่งนี้เป็นคำถามสำคัญที่ดิฉันมักใช้ถามนักเรียนเนื่องจากสามารถเชื่อมโยงแนวคิดหลักสำหรับการพัฒนาความเข้าใจสำหรับนักเรียนแต่ละคนได้เป็นอย่างดี

และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือความสามารถด้านการเขียนของเด็กๆ เต็มไปด้วยความกระตือรือร้นและเด็กๆสามารถเข้าใจความรู้สึกของคนอื่นได้ดีมากยิ่งขึ้น เนื่องจากพวกเขาได้จดจำประสบการณ์ในระหว่างที่แสดงบทบาทสมมติและดึงเอาความรู้สึกที่ได้รับนำมาใช้กับเขียนบรรยาย และนั่นก็เป็นเหตุผลที่ฉันเชื่อมั่นว่าการแสดงบทบาทสมมติเป็นสิ่งสำคัญและไม่ควรยกเลิกกิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอนในรูปแบบนี้ เพราะมันเป็นกิจกรรมที่สำคัญต่อช่วงวัย Key Stage 1 เป็นอันมาก อีกทั้งในมุมมองของดิฉันในฐานะคุณครูประจำชั้นในแต่ละปีการศึกษาดิฉันจึงได้มีโอกาสได้สำรวจงานเขียนของเด็กๆ พบว่าการสนับสนุนทักษะการเขียนของพวกเขาผ่านการจัดกิจกรรมแสดงบทบาทสมมตินี้ช่วยทำให้พวกเขาสามารถเพิ่มเติมรายละเอียดที่น่าสนใจลงไปในงานเขียนของพวกเขาได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าประทับใจสำหรับการเรียนรู้ ภายในรั้วโรงเรียนนานาชาติ ISC แห่งนี้