Blog


บทละครได้เริ่มต้นแล้ว! - Ms. Gede Marfil Alejan
December 18, 2019, 2:40 pm

ที่ ISC เราเชื่อว่าการเล่นละครหรือการสดงบทบาทสมมตินั้นเป็นส่วนสำคัญที่ขาดไม่ได้ในการเรียนรู้ เนื่องจากเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนาใน เด็กช่วงปฐมวัย ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวนี้เปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้มีโอกาสเลือกและยอมรับบทบาทโดยที่เด็กๆ สามารถทดลองทำการแสดงหรือสื่อสารความรู้สึกต่างๆ ออกมาผ่านบทบาทหรือตัวละครที่พวกเขาแต่ละคนได้รับ ไม่ว่าจะเป็นบทบาทฮีโร่ซึ่งพวกเขามักจะแสดงออกตามโลกจินตนาการของเขา หรือแม้กระทั่งบทบาทสมมติที่อ้างอิงจากบุคคลในโลกแห่งความจริง ตัวอย่างเช่นการรับบทบาทคนรู้จักที่สนิทและคุ้นเคย เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง คุณปู่ คุณย่า ฯลฯ ในฐานะครูดิฉันจึงมักสังเกตว่าเด็กๆ รู้สึกสนุกสนานไปกับบทบาทที่พวกเขาได้รับ มิได้มองว่าเป็นอุปสรรคแต่อย่างใด นอกจากนี้ยังเห็นได้ชัดว่าพวกเขาสามารถเรียนรู้และแสดงบทบาทเหล่านั้นออกมาได้อย่างเป็นธรรมชาติมากอีกด้วย

ความชื่นชอบส่วนบุคคลของดิฉัน ที่ชื่นชอบการจัดการเรียนการสอนในการสอนเด็กในช่วงปฐมวัยเป็นพิเศษ นับเป็นแรงบันดาลใจชั้นดีที่ทำให้ดิฉันพยายามจัดเตรียม สภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ ในรูปแบบไดนามิกและเพื่อให้เด็กๆ ได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ที่มีคุณค่าผ่านการเข้าร่วมทำกิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้เชิงวิชาการที่นำการตั้งคำถามโต้ตอบผ่านเกมที่มีความสนุกสนานหรือแม้กระทั่งการทำกิจกรรมการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์และเติมเต็มจินตนาการที่หลากหลายของพวกเขาแต่ละคน ดังนั้นภายในห้องเรียนของดิฉัน จึงมักจะจัดเตรียมสถานที่หรือมุมกิจกรรมที่สามารถใช้สำหรับการเล่นละครรือบทบาทสมมติที่เชื่อมต่อเข้ากับหัวข้อการเรียนรู้ในแต่ละภาคเรียนได้เป็นอย่างดี ซึ่งการจัดเตรียมสิ่งต่างๆ ให้มีความพร้อมเมื่อใช้ในการประกอบฉากการแสดง นอกจากดิฉันจะเป็นผู้จัดเตรียมเบื้องต้นแล้ว อุปกรณ์ประกอบฉากอื่นๆ ก็ได้นำมาจากการลงมือทำสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานศิลปะ งานประดิษฐ์จากกรอบความคิดสร้างสรรค์ที่มาจากฝีมือนักเรียนแต่ละคนภายในชั้นเรียนอีกด้วย

ตัวอย่างเช่นในหัวข้อการเรียนรู้ล่าสุดของเรา คือ เรื่อง 'ฟาร์ม' เริ่มต้นจากการทำกิจกรรมพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันภายในชั้นเรียนภายใต้หัวข้อ 'ฟาร์มของเรา' จากการนั่งลงและพูดคุยเห็นได้ชัดว่าเด็กแต่ละคนมี วิสัยทัศน์และมุมมอง ที่แตกต่างกันไป เช่น "คุณครูคะ หนูคิดว่าภายในฟาร์มควรมีเจ้าวัว เจ้าควาย เจ้าแกะน้อยอย่างละ 2-3 ตัว แต่สำหรับเจ้าไก่และลูกๆ ควรมีหลายๆ ตัวหน่อย” ดังนั้นในส่วนของกิจกรรมที่สนับสนุนการเรียนรู้เราจึงประดิษฐ์รังไก่จากเศษไม้และฟาง เพื่อเพิ่มความสมจริงเรายังทำไก่กระดาษและเพิ่มไข่ไก่จำลองเข้าไปในรังดังกล่าวด้วย นอกจากนี้เรายังได้พูดคุยกันต่อไปเกี่ยวกับสิ่งจำเป็นอื่นๆ ที่ควรมีภายในฟาร์ม เช่น “คุณครูครับเราจำเป็นต้องสร้างยุ้งฉางและโรงนาให้สัตว์ของเราได้อยู่อาศัย พื้นที่เหล่านี้พวกเขาสามารถเล่นและนอนหลับพักผ่อนแล้ว ก็ยังป้องกันไม่ให้เหล่าสัตว์ประจำฟาร์มของเราหลบหนีออกไปอีกด้วย” กิจกรรมสนับสนุนการเรียนรู้ในครั้งนี้ จึงเป็นการนำเศษไม้มาทำเป็นรั้วไม้ตั้งล้อมรอบกล่องทำรัง เพื่อให้แน่ใจว่าไก่และสัตว์อื่น ๆ ของเรามีที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมปลอดภัย ไม่หนีหายไปในตอนกลางคืน

สำหรับดิฉันแล้วการส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนทำกิจกรรมเล่นละครหรือการแสดงบทบาทสมมตินั้น มีความสำคัญเท่าเทียมกันกับการส่งเสริมและพัฒนาการด้านการเรียนรู้รูปแบบอื่นๆ เพราะเราสามารถสังเกตเห็นได้ชัดว่าเด็กๆมักจะนำทักษะหรือแนวคิดจาก กิจกรรมการเรียนรู้อื่นๆ มาใช้โดยหลอมรวมการแสดงออกอย่างเป็นธรรมชาติในแบบฉบับที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะบุคคล ที่ ISC เราใช้กิจกรรมการแสดงบทบาทสมมติเพื่อเป็นเวทีในการสนับสนุนความมั่นใจและความกล้าแสดงออกให้กับเด็กๆ เพราะกิจกรรมดังกล่าวนี้มีประโยชน์มีมากมายที่เด็กๆจะได้รับ นอกจากการพัฒนาด้านภาษาเมื่อพวกเขาต้องใช้แสดงออกผ่านบทสนทนาแล้ว ยังช่วยพัฒนาความสามารถในการวางแผนและประสานงาน รวมไปถึงการเรียนรู้การทำงานร่วมกันเมื่อพวกเขาต้องเลือกบทบาทและแบ่งช่วงการแสดง ทางด้านวิชาการเมื่อมีการใช้กระดาษที่ระบุจำนวนตัวเลขแทนการใช้จ่ายเงิน หรือแม้กระทั่งการจำลองสถานการณ์ค้าขายผักผลไม้ ตัวเลขที่บ่งบอกปริมาณและราคา การจ่ายเงิน ทอนเงิน สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนอาศัยความรู้ทางคณิตศาสตร์ซึ่งนับเป็นการส่งเสริมทักษะทางวิชาการด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ส่วนที่สำคัญที่สุด คือ การยกตัวอย่างจำลองสถานการณ์ที่ทางคุณครูสามารถสอนให้เด็กๆ ได้เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและโอกาสในการทำงานที่มีความแตกต่างในแต่ละบทบาทหรือในแต่ละสถานการณ์ได้อีกด้วย